วันอาทิตย์ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

Learning 2

สรุปเนื้อหาบทเรียน ครั้งที่ 2
 
บทที่ 8 การใช้สารสนเทศตามกฏหมายและจริยธรรม
 
 
                         การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศมีอิทธิพลต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์ การรับวัฒนธรรมที่แฝงเข้ามากับแหล่งข่าวสารข้อมูลในรูปแบบต่างๆ ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในพฤติกรมของมนุษย์ โดยเฉพาะบนเครือข่ายสารสนเทศซึ่งเป็นเครือข่ายที่เชื่อมโยงกันทุกมุมโลก การเปิดรับข่าวสารที่มาจากแหล่งข้อมูลดังกล่าวจึงขึ้นอยู่กับการตัดสินใจ และทัศนคติส่วนบุคคล การรับข้อมูลข่าว สารที่ไม่เหมาะสมส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมโดยเฉพาะ พฤติกรรมไม่พึงประสงค์ และมีแนวโน้มทำให้เกิดอาชญากรรม ปัญหาทางศีลธรรมและจริยธรรม
 
ผลกระทบของเทคโนโลยีสารสนเทศ
 
ผลกระทบทางบวก
 

1) เพิ่มความสะดวกสบายในการสื่อสาร การบริการและการผลิต ชีวิตคนในสังคมได้รับความสะดวกสบาย
2) เป็นสังคมแห่งการสื่อสารเกิดสังคมโลกขึ้น โดยสามารถเอาชนะเรื่องระยะทาง เวลา และสถานที่ได้ ด้วยความเร็วในการติดต่อสื่อสารที่เป็นเครือข่ายความเร็วสูง
3) มีระบบผู้เชี่ยวชาญต่างๆ ในฐานข้อมูลความรู้ เกิดการพัฒนาคุณภาพชีวิต
4) เทคโนโลยีสารสนเทศสร้างโอกาสให้คนพิการ หรือผู้ด้อยโอกาสจากการพิการทางร่างกาย
 5) พัฒนาคุณภาพการศึกษา โดยเกิดการศึกษาในรูปแบบใหม่ กระตุ้นความสนใจแก่ผู้เรียน โดยใช้คอมพิวเตอร์เป็นสื่อในการสอน (Computer-Assisted Instruction : CAI) และการเรียนรู้โดยใช้คอมพิวเตอร์ (Computer-Assisted Learning : CAL)

6) การทำงานเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น กล่าวคือช่วยลดเวลาในการทำงานให้น้อยลง แต่ได้ผลผลิตมากขึ้น

7) ผู้บริโภคได้รับประโยชน์จากการบริโภคสิ้นค้าที่หลากหลายและมีคุณภาพดีขึ้น


ผลกระทบทางลบ

 
1) ก่อให้เกิดความเครียดขึ้นในสังคม เนื่องจากมนุษย์ไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง

2) ก่อให้เกิดการรับวัฒนธรรม หรือแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมของคนในสังคมโลก การแพร่ของวัฒนธรรมจากสังคมหนึ่งไปสู่งสังคมอีกสังคมหนึ่งซึ่งอาจก่อให้เกิด ค่านิยมที่ไม่พึ่งประสงค์ขึ้นในสังคมนั้น

3) ก่อให้เกิดผลด้านศิลธรรม การติดต่อสื่อสารที่รวดเร็วในระบบเครือข่ายก่อให้เกิดโลกไร้พรมแดน พบว่ามีความแตกต่างกัน ประเทศต่างๆ นับถือศาสนาแตกต่างกัน และมีค่านิยมแตกต่างกัน ทำให้เยาวชนรุ่นใหม่สับสนต่อค่านิยมที่ดีงามดั่งเดิม เกิดการลอกเลียนแบบ
4) การมีส่วนร่มของคนในสังคมลดน้อยลง การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ทำให้เกิดความสะดวก รวดเร็วในการสื่อสาร และการทำงาน
5) การละเมิดสิทธิเสรีภาพส่วนบุคคล การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างไม่มีขีดจำกัดย่อมส่งผลต่อการละเมิดสิทธิส่วนบุคคล ก่อให้เกิดความเสียหายต่อบุคคลโดยไม่สามารถป้องกันตนเองได้
6)  เกิดช่องว่างทางสังคม การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศจะเกี่ยวช้องกับการลงทุน ผู้ใช้จึงเป็นชนชั้นในอีกระดับหนึ่งของสังคม ในขณะที่ชนชั้นระดับรองลงมามีอยู่จำนวนมากกลับไม่มีโอกาสใช้
7) เกิดการต่อต้านเทคโนโลยี เมื่อเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามามีบทบาทต่อการทำงานมากขึ้น ระบบการทำงานต่างๆ ก็เปลี่ยนแปลงไป คนที่ทำงานด้วยวิธีเก่าๆ เกรงกลัวว่าตนเองด้อยประสิทธิภาพ จึงเกิดสภาวะของความรู้สึกต่อต้าน

8) อาชญากรรมบนเครือข่าย ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศก่อให้เกิดปัญหาใหม่ๆ ขึ้น
9) ก่อให้เกิดปัญหาด้านสุขภาพ นับตั้งแต่คอมพิวเตอร์เข้ามามีบทบาทในการทำงาน การศึกษา บันเทิง ฯลฯ การจ้องมองคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานๆ มีผลเสียต่อสายตาซึ่งทำให้สายตาผิดปกติ มีอาการแสบตา เวียนศรีษะ
       เราสามารถพิจารณาปัญหาสังคมที่เกิดจากเทคโนโลยีสารสนเทศ ได้จากการวิเคราะห์ทัศนคติต่อเทคโนโลยีสารสนเทศ ในมุมมองที่แตกต่างกัน ได้ดังนี้

- มุมมองว่าเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือที่มีไว้เพื่อให้มนุษย์บรรลุวัตถุประสงค์
- มุมมองว่าเทคโนโลยีสารสนเทศและสังคมต่างก็มีกระทบซึ่งกันและกัน
- มุมมองว่าเทคโนโลยีเป็นกลไกในการดำรงชีวิตของมนุษย์


แนวทางในการป้องกันและแก้ไขปัญหาสังคมที่เกิดจากเทคโนโลยีสารสนเทศ

- ใช้แนวทางสร้างจริยธรรม (Ethic)
- สร้างความเข้มแข็งให้กับตนเอง
- ใช้แนวทางการควบคุมสังคมโดยใช้วัฒนธรรมที่ดี
- การสร้างความเข้มแข็งให้กับสังคมชุมชน
- ใช้แนวทางการเข้าสู่มาตรฐานการบริหารจัดการการให้บริการเทคโนโลยีสารสนเทศ
- ใช้แนวทางการบังคับใช้ด้วยกฎ ระเบียบ และกฎหมาย



ประเด็นพิจารณาการใช้จริยธรรมเพื่อแก้ปัญหาสังคมที่เกิดจากเทคโนโลยีสารสนเทศ
 
1 ผลกระทบจากเทคโนโลยีสารสนเทศ และทฤษฎีเรื่องจริยธรรม
2 เทคโนโลยีสารสนเทศกับจริยธรรมและการเมือง
3 เทคโนโลยีสารสนเทศกับจริยธรรมและความเป็นมนุษย์


การใช้กฎหมายเพื่อแก้ปัญหาสังคมที่เกิดจากเทคโนโลยีสารสนเทศ

องค์กรระหว่างประเทศต่างก็ได้เข้ามามีบทบาทในการจัดประชุมเจรจา เพื่อจัดทำนโยบายและตัวบทกฎหมายด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ดังนั้นจึงถือเป็นเรื่องสำคัญที่ประเทศไทยจะต้องจัดทำกฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อใช้เป็นโครงสร้างพื้นฐานในการพัฒนาประเทศ ในเรื่องนี้ได้ถูกดำเนินการโดยศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) ในฐานะสำนักงานเลขานุการคณะกรรมการเทคโนโลยีแห่งชาติ เป็นแกนกลางในการพัฒนากฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศพื้นฐาน โดยมีกรอบสาระของกฎหมายในเรื่องต่างๆ ดังนี้

ก. กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Data Protection Law) สาระของกฎหมายนี้มุ่งเน้นให้การคุ้มครองสิทธิในความเป็นส่วนตัว ไม่ให้มีการนำข้อมูลของบุคคลไปใช้ในทางมิชอบ

ข. กฎหมายอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ (Computer Relate Crime) วัตถุประสงค์ของกฎหมายนี้มุ่งเน้นให้การคุ้มครองสังคมจากความผิดที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสาร

ค. กฎหมายพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Commerce) วัตถุประสงค์ของกฎหมายนี้มุ่งเน้นให้การคุ้มครองการทำธุรกรรมผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์

ง. กฎหมายการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Data Interchange : EDI) วัตถุประสงค์ของกฎหมายนี้เพื่ออำนวยการให้มีการทำนิติกรรมสัญญาทางอิเล็กทรอนิกส์ได้

จ. กฎหมายลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Signature Law) วัตถุประสงค์ของกฎหมายนี้เพื่อสร้างความมั่นใจให้แก่คู่กรณีในการใช้เทคโนโลยีเพื่อการลงลายมือชื่อ

ฉ. กฎหมายการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Funds Transfer) วัตถุประสงค์ของกฎหมายนี้ก็เพื่อให้การคุ้มครองผู้บริโภคด้านการโอนเงิน

ช. กฎหมายโทรคมนาคม (Telecommunication Law) วัตถุประสงค์เพื่อจัดการเปิดเสรีให้มีการแข่งขันที่เป็นธรรม และมีประสิทธิภาพ อนุญาตให้ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการโทรคมนาคมได้อย่างทั่วถึง

ซ. กฎหมายระหว่างประเทศ องค์การระหว่างประเทศ และการค้าระหว่างประเทศที่เกี่ยวเนื่องกับเทคโนโลยีสารสนเทศ

ฌ. กฎหมายที่เกี่ยวเนื่องกับระบบอินเทอร์เน็ต

ญ. กฎหมายพัฒนาเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์

 
 

วันอังคารที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

learning

สรุปเนื้อหาบทเรียน ครั้งที่ 1

บทที่ 5 การจัดการสารสนเทศ
 

     1.การจัดการสารสนเทศ   หมายถึง การผลิต จัดเก็บ ประมวลผล ค้นหา และเผยแพร่ สารสนเทศโดยจัดให้มีระบบสารสนเทศ การกระจายของสารสนเทศ ทั้งภายในและภายนอกองค์การ โดยมีการนำเทคโนโลยีต่างๆ มาใช้ในการจัดการ รวมทั้งมีนโยบาย หรือ กลยุทธ์ระดับองค์การในการจัดการสารสนเทศ

    2. ความสำคัญของการจัดการสารสนเทศ    การจัดการสารสนเทศ โดยจัดเป็นระบบสารสนเทศต่างๆ เพื่อการใช้ประโยชน์ได้อย่างเหมาะสมกับความต้องการ เป็นความจำเป็นและมีความสำคัญทั้งต่อบุคคลในด้านการดำรงชีวิตประจำวัน ดังนี้

2.1 ความสำคัญของการจัดการสารสนเทศต่อบุคคล
2.2 ความสำคัญของการจัดการสารสนเทศต่อองค์การ
 
     3. พัฒนาการของการจัดการสารสนเทศ     การจัดการสารสนเทศโดยทั่วไป แบ่งอย่างกว้างๆได้เป็น 2 ยุค
เป็นการจัดการสารสนเทศด้วยระบบมือ และการจัดการสารสนเทศโดยใช้คอมพิวเตอร์
การจัดการสารสนเทศ
จะต้องมีขั้นตอนการจัดการที่ดีและเป็นระบบ โดยเริ่มตั้งแต่
1)  การรวบรวมข้อมูล
2) การตรวจสอบข้อมูล
3) การประมวลผลข้อมูลให้กลายเป็นสารสนเทศ
 
     4. แนวคิดเกี่ยวกับการจัดการสารสนเทศ     การจัดการสารสนเทศ (information management) ในอดีตมักมุ่งที่การจัดเก็บสารสนเทศเพื่อการเรียกใช้อย่างง่าย และต่อมา เมื่อสารสนเทศมีปริมาณเพิ่มมากขึ้น มีหลายรูปแบบ การใช้ประโยชน์ในหลายวงการ ทั้งวงการธุรกิจ ภาครัฐ วิชาการและวิชาชีพต่างๆ ประกอบกับเทคโนโลยีสารสนเทศทำให้การจัดการสารสนเทศมีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้น การจัดการสารสนเทศเป็นทั้งการจัดการการผลิต รวบรวม จัดเก็บ และการค้นเพื่อใช้ได้อย่างสะดวก มีระบบที่มีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล

    กระบวนการจัดการสารสนเทศ
- การรวบรวมสารสนเทศ (collecting) เป็นการรวบรวม จัดเก็บสารสนเทศในรูปกระดาษหรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์จากแหล่งต่างๆ ทั้งภายในและภายนอกองค์การ
                 - การจัดหมวดหมู่ (organizing) เป็นการนำสารสนเทศที่ได้รวบรวมและนำเข้าสู่ระบบมาจัดหมวดหมู่เพื่อการใช้ประโยชน์ การจัดหมวดหมู่เนื้อหาครอบคลุมการจัดทำดรรชนี (indexing) การจำแนกประเภท (classifying)
             - การประมวลผล (processing) เป็นการค้นหาและเข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศที่ได้รวบรวมและจัดเก็บไว้ เพื่อจัดกลุ่ม จัดเรียง สรุปและวิเคราะห์ตามความต้องการ โดยการจัดเก็บทรัพยากรสารสนเทศอาจรวบรวมจากแหล่ง
        - การบำรุงรักษา (maintaining) เป็นการนำสารสนเทศที่จัดการไว้กลับมาใช้ซ้ำ (reuse) เพื่อหลีกเลี่ยงการเก็บสารสนเทศเดียวกันหลายครั้งโดยไม่จำเป็น
ปัจจัยสำคัญของการจัดการสารสนเทศ ในการจัดการสารสนเทศ ยังต้องคำนึงถึงปัจจัยสำคัญ 4ด้าน คือ เทคโนโลยี คน กระบวนการ และการบริหารจัดการ ดังนี้
         
การกำหนดความหมายของการจัดการความรู้
การจัดการความรู้ หรือ เคเอ็ม (Knowledge Management -- KM) หมายถึง การจัดการความรู้จึงเป็นกระบวนการในการมุ่งรวบรวม ประมวล และจัดการความรู้ทั้งความรู้เด่นชัด และความรู้ซ่อนเร้นหรือความรู้ฝังลึก เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการสร้างและการแบ่งปันความรู้ระหว่างบุคลากร อันก่อให้เกิดการเรียนรู้ และท้ายสุดนำไปสู่ประโยชน์ในการขับเคลื่อนประสิทธิภาพการดำเนินงานต่อองค์การนั้นๆ
 
     5. การจัดการสารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพ     การจัดการสารสนเทศ หมายถึง การนำเอาเทคโนโลยีใหม่ๆ มาใช้ เช่น ระบบจัดการเนื้อหาหรือเอกสาร ระบบคลังข้อมูล ระบบเว็บไซด์ท่า โครงการเหล่านี้น้อยรายที่จะประสบความสำเร็จ การสร้างการจัดการสารสนเทศที่มีประสิทธิภาพนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย มีหลายประเด็นต้องคำนึงถึง เทคโนโลยีการจัดการสารสนเทศ ประกอบด้วยระบบต่างๆ
· การ จัดการ เนื้อหาใน เว็บไซต์ (web content management - CM)
             · การจัดการเอกสาร (document management - DM)
             · การจัดการด้านการจัดเก็บบันทึก (records management - RM)
             · โปรแกรมจัดการทรัพย์สินดิจิทัล (digital asset management - DAM)
             · ระบบการจัดการเรียนการสอน (learning management systems - LM)
             · ระบบการจัดเนื้อหาการสอน (learning content management systems - LCM)
             · ความร่วมมือ (collaboration )
             · การค้นคืนสารสนเทศในองค์กร ( enterprise search)
             · และอื่นๆ